คุนหมิง, 15 ก.พ. (ซินหัว) -- พาชมลวดลายงูที่มักปรากฎอยู่บนภาชนะสำริดหลากหลายชนิดของอาณาจักรเตียน (Dian Kingdom) อาณาจักรโบราณอายุสองพันปีในมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ที่อาจจะช่วยเผยโลกทัศน์ วิถีชีวิต และความเชื่อทางจิตวิญญาณของบรรพบุรุษชาวเตียนโบราณ
อนึ่ง ในอดีตกาล อาณาจักรเตียนโบราณถูกยึดครองโดยผู้ปกครองของราชวงศ์ฮั่นตะวันตก และถูกรวมเข้าเป็นดินแดนของราชวงศ์ฮั่นตะวันตกในฐานะภูมิภาคอี้โจว
หนึ่งในโบราณวัตถุล้ำค่าที่มีการขุดพบจากสุสานโบราณเขาสือไจ้ ในเขตจิ้นหนิงของนครคุนหมิง ได้แก่ "ตราพระราชลัญจกรของกษัตริย์แห่งอาณาจักรเตียนโบราณ" และ "หัวเข็มขัดสำริดชุบทองรูปคนคู่คนเต้นระบำ" ซึ่งล้วนมีการนำงูมาใช้เป็นองค์ประกอบหลักหรือส่วนเสริม โดยรูปร่างของงูมักจะขดตัวไปมาและเชิดหัวเสมอ สะท้อนถึงการสังเกตธรรมชาติและการแสดงออกทางศิลปะของชาวจีนโบราณ
(แฟ้มภาพซินหัว : ตราพระราชลัญจกรของกษัตริย์แห่งอาณาจักรเตียนโบราณ)